อาจฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่นั่นเป็นเพราะเรตินาในลูกตาที่มีความไวต่อแสง ยังส่งสัญญาณไปสู่สมองอยู่ จึงไม่มีการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (ที่ทำให้รู้สึกง่วง) ดังนั้น ถึงหลับก็หลับไม่สนิท จะสังเกตพบว่า เมื่อตื่นขึ้นมา จึงไม่รู้สึกสดชื่น หรือกระปรี้กระเปร่าอย่างที่ควรจะเป็น อารมณ์ไม่แจ่มใส ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง ในระหว่างวันประสิทธิภาพการจัดการความจำของสมองก็ไม่ดี เนื่องจากการนอนที่ด้อยคุณภาพ
ผลการศึกษาของนักวิจัยในต่างประเทศพบว่า การหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินยังมีผลต่อสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิต สภาวะสมดุลของกลูโคส รวมถึงอุณหภูมิของร่างกาย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยคาดว่า ในอนาคตจะมีการศึกษาต่อไปถึงการปล่อยให้เด็กนอนหลับโดยเปิดไฟทิ้งไว้ จะส่งผลต่อพัฒนาการของตา โดยเสี่ยงต่อการมีสายตาสั้นหรือไม่ด้วย
ดังนั้น การควบคุมเรื่องแสงสว่างไม่ให้มารบกวนยามหลับ รวมถึงการจัดห้องให้ปลอดโปร่งเอื้อต่อการพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ จึงสามารถป้องกัน และชะลอสภาวะการทำงานของสมองไม่ให้เสื่อมลงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น