มหาวิทยาลัยในประเทศไทย

1.มมส.
2.มช.
3.มข.

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

ฆ่าตัวตาย ภัยใกล้ตัว

ฆ่าตัวตาย ภัยใกล้ตัว
 


ใน เดือนกันยายนของทุกปี ผู้คนทั่วโลกจะนึกถึงเหตุการณ์ เหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบทางจิตใจต่อผู้คนมากมาย นั่นคือความเสียบหายและโศกนาฏกรรม 911 หรือวันที่ 11 เดือนกันยายน แต่ก่อนที่จะถึงวันดังกล่าวจะมีวันสำคุณคือ วันที่ 10 กันยายนของทุกปี องค์การอนามัยโลกกำหนดให้วันดังกล่าวเป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2003 (ตรงกับ พ.ศ.2546 ของไทย)

องค์การ อนามัยโลกคาดว่าปีหนึ่งจะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน และการฆ่าตัวตายส่งผลกระทบต่อจิตใจของพ่อแม่พี่น้อง สามีภรรยาและเพื่อนของผู้ตาย ตลอดจนมีผลทางมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล องค์การ อนามัยโลกพบว่าการฆ่าตัวตายติด 10 อันดับแรก ของสาเหตุการตายของประชากรโลก และติดอันดับ 3 ของสาเหตุการตายสำหรับประชากรวัย 15-35 ปี

กรม สุขภาพจิต ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ และได้ดำเนินโครงการดูแลช่วยเหลือและป้องกันปัญหานี้อย่างต่อเนื่องมา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2544 จนถึงปัจจุบัน จัดให้มีระบบการบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยสร้างระบบบันทึกข้อมูลการเฝ้าระวังและการศึกษาวิจัยปัญหานี้ในแง่มุม ต่างๆ เพื่อนำมาใช้วางแผนการดำเนินการช่วยเหลือและป้องกันปัญหาต่อไป

การ ป้องกันปัญหาผู้ที่ทำร้ายตนเองที่ไม่เสียชีวิต(พยายามฆ่าตัวตาย) เป็นที่รู้กันว่าในกลุ่มนี้มักจะมีโอกาสทำซ้ำเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่า และฆ่าตัวตายสำเร็จในที่สุด ถ้าไม่สามารถให้การช่วยเหลือหรือนำเขาเหล่านั้นสู่กระบวนการรักษาทางจิตเวช โดยเฉพาะปัญหาโรคซึมเศร้า

โรค ซึมเศร้า ถือเป็นภาวะโรคซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาในการดูแลรักษา โรคนี้เป็นมหันตภัยเงียบนอกจากจะส่งผลเสียกับตัวเองยังส่งผลกระทบต่อคนรอบ ข้าง เมื่อโกรธมักใช้อารมณ์รุนแรงหากโกรธตัวเองมากก็จะฆ่าตัวเองตาย แต่ถ้าโกรธผู้อื่นด้วยก็จะทำร้ายฆ่าผู้อื่นแล้วฆ่าตัวตายตาม หรือเป็นห่วงคนในครอบครัวจึงฆ่าคนในครอบครัวก่อนแล้วฆ่าตัวตายตามเป็นต้น


ความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายมีเพิ่มขึ้นเมื่อ

-เกิดเหตุการณ์สูญเสีย หรือการตัดสัมพันธภาพการแตกแยกกับผู้ใกล้ชิด
-การเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิต เช่น การเกษียณ ปัญหาสุขภาพ ปัญหาการเงิน
-ความเจ็บป่วย ความพิการ สูญเสียอวัยวะทางร่างกาย
-การที่ต้องพึ่งพายาเสพติด เหล้า
-เคยพยายามฆ่าตัวตายมาก่อน
-มีประวัติการฆ่าตัวตายในครอบครัว
-มีความกดดัน และมีประวัติความเจ็บป่วยทางจิต


ผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตายจะแสดงออก ดังนี้

-อยู่โดดเดี่ยว เก็บตัว ไม่เข้าสังคมกับผู้อื่นไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
-มีแผนและหาวิธีที่จะฆ่าตัวตายแน่นอนแล้วเขาจะพูดคุยเกี่ยวกับการจัดภารกิจให้เรียบร้อย
-แสดงความรู้สึกผิดหวัง มองตัวเองไร้ค่า รู้สึกหมดความสนุกสนานในชีวิต
-พูดวนอยู่กับปัญหาที่หาทางแก้ไขไม่ได้
-แสดงออกถึงความรู้สึกหมดเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น